หลักสูตร

การจัดการสารเคมีอันตรายและการตอบโต้สารเคมีรั่วไหล

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ในระบวนการผลิต ในภาคอุตสาหกรรม ทำให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติภัยสารเคมีมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อยู่รอบ ๆ บริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าวได้

สำหรับประเทศไทย การเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีมีสถิติการเกิดบ่อยครั้ง การเกิดอุบัติภัยแต่ละครั้งส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ดังเช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรมจัดเก็บข้อมูลโดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2556 พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมเกิดอุบัติเหตุและอุบัติภัยประเภทอัคคีภัย จำนวน 43 ครั้ง เกิดระเบิดจำนวน 8 ครั้งและการรั่วไหล ของสารเคมีจำนวน 6 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 545,045,000 บาท

ในปีพ.ศ. 2563 กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้รวบรวมเหตุการณ์อุบัติภัยหรือเหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมี จากแหล่งข่าวต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ สื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการรับแจ้งและรายงานจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลเฝ้าระวังสถานการณ์อุบัติภัยสารเคมี และใช้ประโยชน์ด้านการเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ด้านสาธารณสุข โดยการวิเคราะห์ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563) สรุปผลได้ดังนี้ เกิดอุบัติภัย สารเคมีทั้งหมดจำนวน 59 ครั้ง โดยจำแนกเหตุการณ์ ดังนี้ เกิดจากเหตุไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 31 ครั้ง รองลงมาคือ อุบัติเหตุ การขนส่ง จำนวน 13 ครั้ง การรั่วไหลของสารเคมี จำนวน 11 ครั้ง การระเบิด และการลักลอบทิ้ง อย่างละ 2 ครั้ง ตามลำดับ วัตถุอันตราย หรือวัตถุสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับอุบัติภัยสารเคมี ส่วนใหญ่เกิดจากวัสดุประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง แอมโมเนีย ก๊าซธรรมชาติ สารเคมีไม่ทราบชนิด

กฎกระทรวงแรงงาน

ข้อ ๓๓ : ให้นายจ้างตามข้อ ๓๒ จัดทําแผนปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉินของสถานประกอบกิจการ

ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด และเก็บแผนดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการ

พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ ตลอดจนปรับปรุงแผนให้ทันสมัยและฝึกซ้อม

ตามแผนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ข้อ ๓๔ : ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับเหตุอันตรายตาม

หลักสูตรที่อธิบดีประกาศกําหนด และทําการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และเก็บหลักฐาน

การฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

ข้อ ๒๒ : ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ การจัดการสารเคมีอันตราย วิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

และการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้กับคนงานที่เกี่ยวข้อง

ผู้ให้การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งต้องด าเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ด้านการจัดการสารเคมีอันตราย

อย่างปลอดภัย และทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยหลักฐานการฝึกอบรม

ให้เก็บรักษาไว้ที่โรงงานพร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดการเกิดอุบัติภัยภายในสถานประกอบกิจการ รวมถึงเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างทักษะการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายให้กับพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกหน่วยงานที่มีการนำสารเคมีอันตรายเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายในการจัดเก็บ การขนส่งและการเคลื่อนย้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเมื่อต้องปฏิบัติงานกับสารเคมีและวัตถุอันตรายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวทางในการจัดการเมื่อมีเหตุหกรั่วไหล/เหตุฉุกเฉิน
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้อบรมไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรของตนเอง

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

1. พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัตถุอันตราย
2. พนักงานที่ควบคุมดูแลเกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัตถุอันตราย
3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆ
4. หัวหน้างาน
5. ทีมฉุกเฉินในการเก็บกู้สารเคมี
6. ผู้ที่สนใจทั่วไป